เมนู

ไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอัน
พระสุคตประกาศแล้ว บุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เป็นคนโง่ เซอะซะ
เป็นคนใบ้ ไม่สามารถที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ ฯลฯ ข้อที่
แปด.
9. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อึกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบ
เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้
ไม่มีผู้ใดแสดง ถึงบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคนมีปัญญา ไม่เซอะซะ
ไม่เป็นคนใบ้ สามารถที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิต และทุพภาษิตได้ นี้ ก็มิใช่
ขณะ มิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่เก้า

[355] อนุปุพพวิหาร 9


1. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจาก
กามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่.
2. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใส
แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบ ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.
3. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวย
สุขด้วยนามกาย เพราะปีติปราศจากไป เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยเจ้า
ทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
ดังนี้.
4. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์และสุข

เพราะละทุกข์และสุข ลำดับโสมนัสโทมนัสในกาลก่อน มีอุเบกขา เป็น
เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
5. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาได้โดย
ประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา
เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่.
6. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณ
หาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่.
7. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มี
อะไร ดังนี้อยู่.
8. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดย
ประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่.
9. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-
ตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่.

[356 ] อนุปุพพนิโรธ 9


1. กามสัญญา ของท่านผู้เข้าปฐมฌาน ย่อมดับไป
2. วิตก วิจาร ของท่านผู้เข้าทุติยฌาน ย่อมดับไป
3. ปีติ ของท่านผู้เข้าตติยฌาน ย่อมดับไป